ต่อจากตอนก่อนหน้านี้ จดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จาก Principles of Economics ตอนที่ 3 เราจบถึง Part II - Economy ไปละครับ คราวนี้มาต่อ part ต่อไปครับ
Part III - The Market Order
Chapter 9 - Trade
มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม และใช้เวลาทั้งชีวิตในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการแลกเปลี่ยนสิ่งของ การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์มีได้สองแบบคือ สมัครใจและถูกบังคับ หากทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ โดยทั่วไปจะเป็นสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ เนื่องจากทุกฝ่ายเห็นค่าของสิ่งที่ได้มากกว่าสิ่งที่ให้ไป
ในทางตรงกันข้าม การถูกบังคับ เช่น การใช้ความรุนแรงหรือปล้น จะนำไปสู่สถานการณ์ zero sum game ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่ายเช่น โจรปล้น เจ้าของทรัพย์สินเสียทรัพย์สิน โจรไม่เห็นค่าในทรัพย์สินนั้นแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์
มนุษย์ต้องตัดสินใจอยู่เสมอว่าจะ แข่งขันกันสู้กัน เพื่อผลประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (นี่มัน game theory)
เนื่องจากการประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆ เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล การเห็นคุณค่าของสิ่งของไม่เท่ากันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนขึ้น คนต้องประเมินคุณค่าของวัตถุนั้นตามเวลา สถานที่ ปริมาณที่เขามีอยู่ เพื่อตัดสินใจในการแลกเปลี่ยน ในทางกลับกันถ้าคุณค่าของสิ่งนั้นเท่ากันสำหรับทุกคน มันจะไม่เกิดการแลกเปลี่ยนขึ้นเพราะคุณค่าเท่ากันทั้งสองฝ่าย

คุณค่ากับราคาเป็นสิ่งคนละสิ่งกัน คนจะซื้อของสิ่งนั้น เมื่อเขารู้สึกว่าคุณค่าของมันสูงกว่าราคา ในขณะที่ผู้ขายจะยอมขายของสิ่งนั้น เมื่อเขารู้สึกว่าคุณค่าของสิ่งนั้นน้อยกว่าราคา ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะยังไม่ได้รวมถึงประโยชน์อื่นๆ ที่จะได้รับจริง ๆ ก็ได้
Absolute Advantage: สถานการณ์ที่ผู้คนในสังคมร่วมมือกันอย่างสมัครใจ ผลิตสิ่งของที่ตัวเองต้องการ แล้วเอาสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน ทำให้ที่จุดสมดุลมีผลผลิตโดยรวมดีกว่าการมีความขัดแย้งกัน การผลิตสินค้าทุกชนิดก็เพิ่มขึ้น
Comparative Advantage: ร่วมมือกันเปรียบเทียบ หรือเลือกให้คนทำสิ่งที่มีประสิทธิภาพ และ opportunity cost ที่ดีที่สุด เพื่อจัดสรรแรงงานให้ได้ผลผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด แล้วแบ่งปันกันตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
สิ่งที่แตกต่างคือการคิดค่าเสียโอกาสในการให้แต่ละคนไปทำสิ่งที่มีประสิทธิภาพ แต่การที่คนแลกเปลี่ยนกันได้จะทำให้คนคิดได้เองว่าจะร่วมมือกันแบบไหน การตัดสินเหล่านี้เกิดขึ้นเองในสังคม โดยไม่ต้องมีนักเศรษฐศาสตร์มากำหนด คนในทุกระดับจะสังเกต และตอบโต้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันเอง
การมีอยู่ของการแลกเปลี่ยนทำให้เราสามารถผลิตสินค้าที่ตลาดต้องการได้ แม้ว่าเราอาจไม่ต้องการมันเอง แล้วนำไปแลกเปลี่ยนเป็นคุณค่าที่เราต้องการแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราอยู่ในสังคม สิ่งนี้นำไปสู่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความร่วมมือกันทางสังคม และความสงบสุขในสังคม เทียบกับถ้าอยู่คนเดียวบนเกาะจะต้องทำเองทุกอย่าง อย่างไม่มีประสิทธิภาพ การที่สังคมและตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ความเชี่ยวชาญ ปริมาณ ความหลากหลายของสินค้า และนวัตกรรมจะเพิ่มขึ้น มันช่วยอธิบายการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่ เพราะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือซับซ้อนจะเกิดขึ้นได้ยากในสังคมขนาดเล็ก
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านขับเคลื่อนมาจาก
- ความแตกต่างจากธรรมชาติ เช่นพื้นที่ อุณหภูมิ
- ทุนและสินค้าทุนที่แตกต่างกัน
- ทักษะและความต้องการของแรงงาน
อุตสาหกรรมที่มีผลผลิตสูงสุดในปัจจุบันคือคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เพราะมันมีผลกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้เพราะมันสามารถไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยไม่ได้อาศัยปัจจัยทางธรรมชาติเลย ใช้แต่โครงสร้างทุน
ตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือทั่วโลก คนที่อยู่ในประเทศที่ไม่มีภาษีการค้าจะสามารถโฟกัสกับงานที่เชี่ยวชาญ และสามารถเลือกขายงานให้กับผู้ให้ราคาดีสุดทั่วโลกได้ และยังดำรงชีพจากสินค้าที่เหมาะและถูกที่สุดสำหรับตัวเองได้ ในทางกลับกันประเทศที่อยู่เกาะห่างไกล หรือรัฐจำกัดการค้าด้วยภาษีการค้า จะเพิ่มต้นทุนกับโลกภายนอก ทำให้สินค้าแพงขึ้นและความเชี่ยวชาญต่างๆ ลดลง
Chapter 10 - Money
เงิน เป็นตัวกลางที่ช่วยแก้ไข "ความต้องการที่ไม่ตรงกัน" ในการแลกเปลี่ยน
ในสังคมเล็ก เงินอาจจะไม่ได้จำเป็นมาก เพราะสินค้ามีอยู่ไม่กี่อย่าง และคนในสังคมมักความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แม้แต่สัญญาที่จะแลกเปลี่ยนกันในอนาคตก็สามารถทำได้
แต่ในโลกปัจจุบันที่มีสินค้าบริการหลากหลาย มีคนที่เราไม่รู้จักในสังคมมากขึ้น แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะแลกเปลี่ยน หรือสร้างสัญญาหนี้กันเอง มนุษย์จึงแก้ปัญหานี้ด้วยการแลกเปลี่ยนทางอ้อม ผ่านสินค้าที่ตัวเองไม่ได้อยากได้ แต่ใช้เพื่อเอาไปแลกกับสิ่งที่อยากได้อีกที ซึ่งสินค้าบางชนิดจะทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่าชนิดอื่นโดยธรรมชาติ Salability คือคุณสมบัติของเงินที่ดี ที่เป็นที่ต้องการ
คุณสมบัติ Salability (Sale + Ability) คือ เมื่อเราต้องการขายสิ่งนั้นมูลค่าของมันจะไม่ลดลง โดยเฉพาะเวลาที่ต้องการขายทันที ขายเร็วๆ ตัวอย่างที่ดีเช่น ธนบัตร $100 ในปัจจุบัน ส่วนตัวอย่างที่ไม่ดีเช่น บ้าน รถยนต์ ถ้าต้องการขายเร็ว เราจะไม่ได้ขายให้คนที่ต้องการหรือเห็นคุณค่ามันจริงๆ ทำให้มันถูกกดราคาเวลาขาย
ถ้าเราปล่อยไปตามธรรมชาติ มักจะมีสินค้าที่มี Salability ที่โดดเด่น ซึ่งทำให้คนก็อยากถือครอง ก็จะยิ่งทำให้คุณสมบัติของมันยิ่งโดดเด่นยิ่งขึ้น จนมักจะเหลือสิ่งเดียวที่มี Salability ที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลาหนึ่ง
การมีเงินที่ดีจะช่วยให้เราเปรียบเทียบเห็นเงินที่ไม่ดีได้ เช่นการไม่มีความต้องการที่ตรงกันในด้านต่างๆ ดังนี้
- ความต้องการสินค้าไม่ตรงกัน
- ความต้องการไม่ตรงกันในด้านของที่ตั้ง เช่น ที่ดิน
- ความต้องการไม่ตรงกันในด้านขนาด เช่น แอปเปิลลูกเดียว มีคุณค่าแค่ส่วนเล็กๆ ของรถยนต์
- ความต้องการไม่ตรงกันของช่วงเวลา เช่น แอปเปิลจะเน่าก่อนที่จะสะสมมากพอสำหรับจะไปซื้อรถ

ดังนั้น เงินที่มีลักษณะที่ดีจึงควรมีคุณสมบัติดังนี้
- มีคนจำนวนมากต้องการ หรือเห็นตรงกัน
- ขนส่งทางไกลได้ เก็บรักษาได้โดยง่าย - สมัยก่อน แร่เงินหรือทองถือว่าขนส่งได้ง่าย เพราะคงทน แต่ปัจจุบันที่การค้ามีระยะทางไกลขึ้น การขนส่งโลหะมันไม่ได้ง่ายและประหยัดอีกต่อไป
- แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ - ปริมาณทั้งหมดของเงินในระบบไม่ได้สำคัญเท่าการักษา purchasing power และปริมาณเงินเพียงพอสำหรับเศรษฐกิจเสมอ ตราบใดที่มันแบ่งหน่วยย่อยได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการเพิ่มปริมาณเงิน มันจะไปเจือจางอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยของเงิน
- คงทน สร้างเพิ่มขึ้นได้ยาก - โลหะมีความคงทนผ่านกาลเวลาจากคุณสมบัติที่ไม่เสื่อมสภาพของมัน ทำให้มีความได้เปรียบในการรักษามูลค่า หรือสะสมในเวลานานๆ
Stock to Flow (S2F) คือปริมาณของที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต่อ ปริมาณที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ ซึ่งโลหะบางชนิดมี S2F ที่ไม่ดีหรือไม่นิ่งเช่น การผลิตขึ้นกับอุปทานของอุตสาหกรรม ทำให้มันไม่ถูกใช้เป็นเงิน
เมื่อคนเลือกสิ่งใดเป็นเงิน ความต้องการความพยายามในการผลิตสิ่งนั้นก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อ S2F ถ้าสิ่งนั้นผลิตได้ง่าย S2F ต่ำ และถูกผลิตมากขึ้น อัตราส่วนของสิ่งนั้นจะเพิ่มที่ผู้ผลิต แต่ลดลงที่ผู้ถือครอง เท่ากับมูลค่าที่เก็บไว้จะไหลไปสู่ผู้ผลิต (Easy Money)
เงินที่ดี (Hard Money) ต้องมี S2F ที่สูงคือ ผู้ผลิตเป็นเป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับของที่มีทั้งหมด หรือผลิตเพิ่มได้ยาก เช่นแร่ทอง และแร่เงิน (แต่แร่เงินมีการถูกใช้ในอุตสาหกรรมอยู่บ้าง และ S2F ยังต่ำกว่าทอง รวมถึงการใช้ธนบัตรแทนทองขนาดเล็กจากที่เมื่อก่อนใช้แร่เงิน ทำให้บทบาทการเงินเทียบกับทองไม่ได้) ส่วน bitcoin มีอัตราการผลิตที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ให้มี S2F สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จน infinity
เมื่อคนรับรู้ว่าเงินชนิดหนึ่งเป็น "เงินที่ดี" ก็จะมีความต้องการมากขึ้น ทำให้มูลค่าของมันมากขึ้น ก็จะทำให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มแรงจูงใจในการใช้ วนลูป จนสิ่งนั้นเป็นเงินที่ชนะจนครองตลาดในตลาดเงิน ซึ่งยุคนึงเคยเป็นทองคำ และในตลาดโลกสมัยใหม่กลายเป็น US dollar
ผู้ที่ใช้เงินที่ดีที่สุดจะสะสมความมั่งคั่งมากขึ้น ผู้ที่ใช้เงินที่ไม่ดีความมั่งคั่งของเขาจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งเกิดมาจากการตัดสินใจของคนแต่ละคนในการเลือกใช้เงิน โดยไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางเข้ามากำหนดสื่อกลางการแลกเปลี่ยน
ทองคำไม่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐใดๆให้เป็นเงิน รัฐต่างหากที่ต้องยอมรับทองคำเป็นเงินถึงจะเป็นรัฐที่ประสบความสำเร็จ ทองคำไม่ได้เป็นเงินเพราะมันออกมาจากเหรียญของรัฐ เหรียญของรัฐต่างหากที่เป็นเงินเพราะมันทำมาจากทองคำ
เงินเฟียตคือเงินที่กำหนดโดยรัฐ โดยมีการผูกติดกับทองคำในระยะแรก แม้ว่าจะมีความพยายามในการยกเลิกการแลกเปลี่ยนกับทองคำ แต่รัฐก็ยังสะสมทองคำและใช้กำลังในการยึดทองคำมาจากประเทศอื่นอยู่ดี
เงินมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ด้วยหน้าที่หลัก 3 อย่าง
- เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน - เงินช่วยแก้ปัญหาความต้องการไม่ตรงกัน แต่ละคนสามารถไปทำสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญ หรือร่วมมือกันผลิตโดยไม่ต้องรู้จักกันได้ แลกเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อไปแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองต้องการ เงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอารยะธรรม เงินที่พังทลายจะเกิดพร้อมกับสังคมที่ล่มสลาย
- เป็นที่เก็บมูลค่า - เงินที่ดีสามารถส่งต่อมูลค่าไปยังอนาคต ความไม่แน่นอนในอนาคตลดลง วางแผนอนาคตได้ดีขึ้น lower time preference และเป็นจุดเริ่มต้นของ civilization
- เป็นหน่วยวัดมูลค่าทางราคา/บัญชี - ถ้าแต่ละสินค้ากำหนดราคาในหน่วยของอีกสินค้า (ไม่มีเงิน) เราจะต้องมีรูปแบบราคาที่เยอะและซับซ้อนมาก เช่นร้านขายแอปเปิ้ลต้องมีราคาแอปเปิ้ลต่อส้ม ราคาแอปเปิ้ลต่อปลา ราคาแอปเปิ้ลต่อรองเท้า
เงินเป็นสินค้าที่ต่างจากสินค้าบริโภคหรือสินค้าทุน มันเพียงเอาไว้ใช้แลกเปลี่ยนมูลค่าในอนาคตเท่านั้น
เงินมีความเป็นสินค้าที่มีความ marginal น้อย (คือชิ้นถัดไปของมันมีคุณค่าลดลงนิดเดียว หรือไม่ลดเลย คนยังอยากได้เพิ่มอยู่เสมอ ตรงข้ามกับน้ำใน chapter 2)
ถ้าปริมาณเงินคงที่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาการผลิตจะทำให้ราคาของสินค้าและบริการลดลง ช่วยให้ผู้คนสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้นด้วยเงินเท่าเดิมในอนาคต คนจะหันมาเก็บออม และลงทุนสำหรับอนาคต บริโภคเท่าที่จำเป็นในระยะสัน แต่เมื่อการออมของคนมีเยอะ มีทุนที่เยอะ ในระยะยาวจะมีการบริโภคที่สูงขึ้นเองแบบยั่งยืน
** รอติดตามตอนต่อไปครับ