มาต่อกันที่ Part III - Market Order นะครับ
ใครเปิดสุ่มมาเจออันนี้อันแรก แนะนำให้ย้อนกลับไปตอนก่อนหน้าก่อนนะครับ จดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จาก Principles of Economics ตอนที่ 4
ใครเปิดสุ่มมาเจออันนี้อันแรก แนะนำให้ย้อนกลับไปตอนก่อนหน้าก่อนนะครับ จดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จาก Principles of Economics ตอนที่ 4
Chapter 11 - Markets
ตลาดเศรษฐกิจคือระเบียบสังคม ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถร่วมมือกันได้ในวงกว้าง ในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายอย่างสมัครใจ
ถ้าคุณอยู่คนเดียวในสังคม คุณไม่สามารถทำอาชีพช่างทาสีได้ เพราะเวลาทั้งหมดของคุณจะหมดไปกับการหาอาหารและสู้กับความหนาวเย็น นั่นคือแรงจูงใจให้คนเข้าร่วมในสังคมและตลาดเศรษฐกิจ เนื่องจากมันช่วยให้งานถูกแบ่งตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคน ทำให้คุณสามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่น และได้รับเงินตอบแทนเพื่อนำไปแลกกับสินค้าที่คุณต้องการ
ในตลาดที่สินค้าถูกกำหนดราคาด้วยสินค้าชนิดเดียว (เงิน) ผู้คนสามารถเปรียบเทียบและตัดสินใจซื้อสินค้าได้ตามคุณค่าที่พวกเขามองเห็น (เพราะแต่ละคนให้ค่าแต่ละสินค้าไม่เท่ากัน) ซึ่งอาจจะวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่ก็สามารถเปรียบเทียบได้ตามกรอบอ้างอิงหรือความชอบส่วนบุคคลได้
ตลาดสินค้าสำหรับผู้บริโภค
เมื่อราคาของสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง ปริมาณที่ผู้คนต้องการซื้อก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น เนื้อวัวปอนด์แรกสำหรับกินประทังชีวิตในวันนี้ ผู้ซื้ออาจจะยินดีจ่ายราคา $30 แต่ปอนด์ที่สอง คุณค่าของมันในสายตาผู้ซื้อลดลง เพราะไม่ถึงกับประทังชีวิตแล้วแค่ให้อิ่มเพิ่มหรือเก็บไว้วันหลัง ผู้ซื้ออาจจะยอมจ่ายเงินซื้อก็ต่อเมื่อราคาลงมาอยู่ที่ $16 เท่านั้น แต่ละคนอาจจะมีตารางราคาอยู่ในใจ ว่าที่ราคานี้จะซื้อเนื้อกี่ปอนด์ พวกเขายินดีจ่ายเท่าไหร่สำหรับปอนด์ต่อไป
ฝั่งผู้ผลิตสินค้า การผลิตเป็นเพื่อการขาย ไม่ใช่เพื่อการบริโภคส่วนตัว ต้นทุนการผลิตคือปัจจัยหลักในการกำหนดราคาขาย ยิ่งผู้ผลิตมีความคาดหวังราคาขายที่สูงขึ้น ผู้ผลิตยิ่งมีแรงจูงใจในการผลิตสินค้านั้นมากขึ้น เช่นถ้าเนื้อวัวราคา $1 ต่อปอนด์ คนขายจะไม่เชือดเนื้อวัวมาขายเลย ถ้าราคาเพิ่มเป็น $2 ต่อปอนด์เขาอาจจะเริ่มเชือดมาขายด้วยตัวเองได้ปริมาณ 10 ปอนด์ ที่ราคา $4 ต่อปอนด์เขาอาจจะเริ่มจ้างลูกจ้างมาช่วยเชือดมากขึ้น ผลิตได้ที่ปริมาณ 50 ปอนด์ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามราคา ราคาที่สูงขึ้นจะเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ผลิตลงทุนมากขึ้นเพื่อผลิตสินค้ามากขึ้น

จุดสมดุลราคาคือ ราคาที่ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตพร้อมจำหน่าย เท่ากับปริมาณที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ
ถ้าราคาตั้งไว้สูงกว่าจุดสมดุล ผู้ผลิตจะมีสินค้ามากกว่าที่ตลาดต้องการ ส่งผลให้เกิดมีสินค้าเหลือเกิน ซึ่งจะบังคับให้ผู้ขายต้องลดราคาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ซื้อซื้อเอาสินค้าส่วนเกินเหล่านั้น
ถ้าราคาตั้งไว้สูงกว่าจุดสมดุล ผู้ผลิตจะมีสินค้ามากกว่าที่ตลาดต้องการ ส่งผลให้เกิดมีสินค้าเหลือเกิน ซึ่งจะบังคับให้ผู้ขายต้องลดราคาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ซื้อซื้อเอาสินค้าส่วนเกินเหล่านั้น
ในทางกลับกัน ถ้าราคาต่ำกว่าสมดุล ผู้ซื้อจะแย่งกันซื้อ ปริมาณสินค้าในตลาดจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้เกิดความขาดแคลน และกระผู้ผลิตเพิ่มราคาและเพิ่มปริมาณการผลิตรผลิต ดึงราคาไปสู่จุดสมดุลโดยสมัครใจ
แต่จุดสมดุลไม่ได้เป็นจุดสุดท้าย แต่เป็นการปรับตัวและค้นพบของตลาดในช่วงเวลานั้น สถานการณ์ตอนนั้น ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคลเช่น ความชอบ รายได้ หรือราคาของสินค้าอื่น หรือผลกระทบจากต้นทุนการผลิตก็เช่นกัน
ตลาดสินค้าสำหรับผู้ผลิต
ผู้ผลิตมีการตัดสินใจซื้อแตกต่างจากผู้บริโภค ผู้ผลิตไม่ได้มองหาประโยชน์โดยตรงจากสินค้า แต่พวกเขาใช้สินค้าเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มผลกำไรในธุรกิจของตน การตัดสินใจของพวกเขาขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำให้ค่าใช้จ่ายนั้นกลับมาเป็นรายได้จากความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการในอนาคตของผู้บริโภค ทำการลงทุนในการผลิตก่อนที่การผลิตจะเกิดขึ้น และต้องยอมรับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการคาดการณ์ที่อาจผิดพลาด
ค่าจ้างแรงงานถือว่าเป็นสินค้าสำหรับผู้ผลิต การเรียกร้องค่าจ้างกับผู้ประกอบการนั้นไม่ค่อยได้ประโยชน์ เพราะผู้ประกอบการต้องยึดตามมูลค่าที่ผู้บริโภคจะเห็น ถ้าค่าจ้างสูงไปผู้ประกอบการอาจจะไม่ทำกำไร หรือต้องขึ้นราคาและสูญเสียตลาดให้ผู้ประกอบการอื่น ถ้าค่าจ้างต่ำไป อาจทำให้สูญเสียลูกจ้างไปยังคู่แข่งที่พร้อมจ่ายค่าจ้างที่ดีกว่า ดังนั้นในตลาดเสรี ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างที่สอดคล้องกับผลผลิตที่ลูกจ้างสร้างได้
ตลาดเสรีสื่อสารกันผ่านการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อของสองฝ่ายที่ราคานั้นๆ ทุกคนจะเลือกตามผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของตัวเอง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลให้คนมี productivity สูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของอีกฝ่ายตลอดเวลา ราคาเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกผู้ผลิตเกี่ยวกับสิ่งที่ควรผลิตและปริมาณที่ควรผลิต ในเศรษฐกิจตลาดเสรีผู้ซื้อมีอำนาจเพราะผู้ผลิตไม่สามารถบังคับผู้ซื้อได้ ดังนั้นผู้ผลิตจำเป็นต้องมีประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ
ในทางตรงกันข้ามกับตลาดเสรี การควบคุมกำหนดราคาของสินค้าจากรัฐ โดยหวังผลทางการเมือง ซึ่งพวกเขามักคิดว่าเมื่อกำหนดแล้วผู้ซื้อผู้ขายต้องซื้อขายกันที่ราคานั้นเท่านั้น และคิดว่าด้วยราคาที่ต่ำ สินค้าจะเข้าถึงได้มากขึ้น คนต้องมีความสุขมากขึ้น หรือมีสูตรสมการในการคำนวนต่างๆ
ทั้งที่แท้จริงแล้ว ราคาเกิดจากการตัดสินใจและปฏิสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อรัฐกำหนดราคาต่ำกว่าต้นทุนของผู้ผลิต ผู้ผลิตก็จะหยุดขายหยุดผลิตสินค้านั้น ทำลายแรงจูงใจในการผลิต นำไปสู่ความขาดแคลน กลายเป็นราคาสูงขึ้นทั้งที่อุปทานลดลง ตลาดถูกทำลายและเกิดตลาดมืดที่ผู้ซื้อผู้ขายไปซื้อขายกันในราคาที่เหมาะสมของทั้งสองฝ่าย โดยไม่สนใจการควบคุมราคาของรัฐ

Chapter 12- Capitalism
ตลาดเศรษฐกิจคือระเบียบสังคมที่ทุกคนตัดสินใจตามประโยชน์ส่วนตัว โดยการทำงานร่วมกันอย่างสมัครใจ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในตลาด โดยใช้เงินเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดระบบทุนนิยม ซึ่งคือระบบที่อนุญาตมีการให้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน และสินค้าทุนได้อย่างอิสระ ผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนจากการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกำไรและขาดทุน
ตลาดหุ้นเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนสำหรับตลาดเสรีของทุนการผลิต เปิดกว้างให้คนเป็นเจ้าของได้ตามราคาตลาด ทุนจะถูกจัดสรรไปยังไปผู้ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการจัดสรรทุนจะได้รับกำไร ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของทรัพยากรทุน
ต่างจากมุมมองของมาร์กซิสต์ที่มองทุนนิยมเป็นสิ่งชั่วร้าย ที่ทำให้เจ้าของทุนสามารถแสวงหาประโยชน์ และทำให้คนอื่นเป็นทาส ตลาดหุ้นจึงโดนปิดโดยรัฐ ทุนถูกนำออกจากตลาด ไปอยู่ในมือของข้าราชการที่ไม่ได้ตัดสินใจเพื่อการผลิตที่ดีที่สุด ไม่มี skin in the game
สินค้าทุนนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของบุคคล ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ ถ้าใช้เพื่อการเล่นเกมจะถือเป็นสินค้าบริโภค แต่ถ้าใช้เพื่อการทำงาน จะถือเป็นสินค้าทุน หากไม่มีความสามารถในการใช้สินค้าทุนเพื่อสร้างกำไร ก็จะไม่มีแรงจูงใจในการสะสมทุนสำหรับการสร้างกำไร ถ้าไม่มีการ trade หรือไม่มีตลาดทุน ทุนก็จะไม่ได้รับการจัดสรรอย่างเสรีไปยังผู้ที่มีประสิทธิภาพ ทุนจึงคล้ายกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยา ถ้าขาดตลาดไป ทุนก็ไม่สามารถดำเนินการได้
เศรษฐกิจจะมีวิวัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนทุนนิยม, ทุนนิยม, สังคมนิยม โดยมีตัวอย่างจากหลายประเทศในยุโรปในอดีตที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ระบบสังคมนิยมถูกนำมาใช้ รัฐจะสั่งปิดตลาดหุ้นซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมกับความยากจน สงคราม การทำลายสินค้าทุน สุดท้ายจะทิ้งสังคมนิยมพยายามกลับมาสู่ทุนนิยม เมื่อเทียบกับประเทศสแกนดิเนเวียที่ตลาดหุ้นไม่เคยโดนปิดหรือถูกรัฐควบคุม จะทำให้เห็นชัดเจนว่าทางออสเตรียนมองเศรษฐกิจสังคมนิยมเป็นยังไง (น่าจะหมายถึงยังไม่ถึงระดับสังคมนิยมที่ชัดเจน)
ระบบทุนนิยมไม่ใช่ระบบการจัดการจากส่วนกลาง แต่เป็นระบบที่ขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการ เริ่มต้นจากคนที่ low time preference เก็บออมสะสมทุน ตลาดเสรีเปิดโอกาสให้เจ้าของทุนสามารถเลือกส่งต่อทุนเหล่านั้นถูกส่งต่อไปยังผู้ประกอบการที่เขาเชื่อมั่น และต่อไปยังผู้จัดการใช้ทุนเหล่านั้นในการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามกลไกตลาด
ผู้ประกอบการคาดการณ์ถึงกำไรที่จะได้ถึงจะทำการผลิต โดยแบกรับความเสี่ยง และรับรายได้เป็นผลตอบแทน เขาใช้เงินเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนเดียวกันในการคำนวนต้นทุนและรายได้ ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายนั่นคือได้กำไร นั่นคือเขาได้ทำคุณค่าให้สังคมมากขึ้นจากการเปลี่ยนแรงงาน ทุน ที่ดิน วัตถุดิบให้เป็นสินค้า
ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายนั่นคือขาดทุน ซึ่งหมายความว่าทรัพยากรได้ถูกแปลงให้มีคุณค่ารวมน้อยลง นำไปสู่ความยากจนของสังคม เมื่อเกิดการขาดทุน ทุนที่มีอยู่จะลดลง ซึ่งกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลงหรือหยุดการผลิต เรียกได้ว่ามี skin in the game ของแต่ละผู้ประกอบการ ถ้าไม่มีสิ่งนี้จะไม่มีการคิดอย่างมีเหตุผลในการใช้ทุนให้ดีที่สุด
การมี skin in the game ทำให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตน เพราะพวกเขาจะต้องรับผลกระทบโดยตรงจากการตัดสินใจเหล่านั้น

คนมักคิดว่าเศรษฐกิจสังคมนิยมล้มเหลวเพราะขาดแรงจูงใจ และไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์ได้ ซึ่งจริงๆแล้วรัฐสร้างแรงจูงใจผ่านความรุนแรงกับความกลัว เช่นถ้าไม่ทำตามจะโดนฆ่าหรือทรมาน แต่สังคมนิยมก็ยังล้มเหลว หรือสังคมนิยมสมัยใหม่ที่เน้นความเสียสละแต่ก็ยังจะล้มเหลวได้อยู่ดีจากการวางแผนจากส่วนกลางที่ไม่มี skin in the game
นักวางแผนส่วนกลางจะคอยบอกว่าต้องผลิตอะไรเท่าไหร่ยังไง โดยไม่สามารถคำนวนต้นทุนที่แท้จริงได้ ไม่มีวิธีการที่มีเหตุผลในการหาวิธีจัดสรรทรัพยากรโดยไม่มีทรัพย์สิน ราคา และตลาดสำหรับผู้ประกอบการและผู้ซื้อ
แม้จะมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนให้นักวางแผนสังคมนิยมมาสังเกตตลาดและปรับราคา แต่ด้วยความที่การจัดสรรทุนไม่เป็นไปตามกลไลตลาด มีแค่หน่วยงานเดียววางแผนใช้ทุน คำนวนกำไรขาดทุนที่แท้จริงไม่ได้ และไม่มี skin in the game จะทำให้สังคมนิยมล้มเหลวได้อยู่ดี
การเดิมพันความเสี่ยงของผู้ประกอบการทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการใหม่ ซึ่งเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่บางครั้งกลับไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ และโฟกัสเฉพาะสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ให้ความสนใจว่านวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร นักวางแผนจะคิดว่าตัวเองทำทุกสิ่งแทนผู้ประกอบการได้ แต่เค้าทำได้แค่ในแบบจำลองเท่านั้น
ในเศรษฐกิจที่มีผู้ประกอบการ ข้อดีที่ชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มผลผลิตจากการลงทุน ผู้ประกอบการใช้ความเชี่ยวชาญ แบ่งงาน จัดสรรทุนและใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ออมกลายเป็นผู้ลงทุน ส่งทุนไปลงทุนกับผู้ประกอบการ นำไปสู่การเพิ่มการผลิต กระตุ้นส่งเสริมนวัตกรรม เกิดการผลิตสินค้าที่หลากหลาย การคำนวนทางเศรษฐศาสตร์ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ถูกจุด และได้รับผลตอบแทนจากประสิทธิภาพที่ดี แรงงานก็ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การผลิตได้ดีขึ้นทำให้สินค้าต่างๆถูกลง อำนาจการจับจ่ายของเงินในมือแรงงานก็เพิ่มขึ้น
ผู้ประกอบการต้องรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอยู่เสมอ กำไรที่ได้เป็นเพียวชั่วคราว เนื่องจากการแข่งขันในตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอื่นๆ เข้ามาแข่งขันได้ตลอดเวลา คนจำนวนมากเลือกที่จะเป็นแรงงานมากกว่าผู้ประกอบการ เพราะการเลือกทำงานในตลาดที่ใหญ่พอและมีประสิทธิภาพในการแบ่งงานตามความเชี่ยวชาญให้ผลตอบแทนที่ดี และมีความเสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งการต้องการเข้าร่วมสังคมเครือข่ายขนาดที่ใหญ่นี้เอง ทำให้เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม และประพฤติตัวอย่างอารยชน
**จบ Part III - Market Order ตอนหน้าเป็นเรื่อง Part IV - The Monetary Economics ครับ