Post by

SOUP

เลนิน พูดถูก "เงินเฟ้อ ฆ่าทุนนิยม"

Published on

31990:20986fb83e775d96d188ca5c9df10ce6d613e0eb7e5768a0f0b12b37cdac21b3:1700732875747

4d ago

“วิธีที่ดีที่สุดในการทำลายทุนนิยมคือทำลายค่าเงิน” Lenin Was Right

ประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำปลุกระดมของนักปฏิวัติ
แต่มันเป็นเหมือนสัญญาณเตือนล่วงหน้า
ที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ จนวันหนึ่งมันก็เกิดขึ้นจริง
แบบเงียบ โดยไม่มีใครทันตั้งตัว

Henry Hazlitt เขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1947
เขาไม่เพียงบอกว่าเลนินพูดถูก แต่เขาแฉว่าโลกทั้งใบ
“กำลังทำตามแผนของเลนิน” แบบไม่รู้ตัว

ตอนนั้นรัฐบาลหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป
พิมพ์เงินออกมาใช้มหาศาล โดยอ้างว่าสงครามบีบบังคับให้ต้องทำแบบนั้น
แต่ปัญหาคือ...พอสงครามจบในปี 1945 แล้ว
รัฐกลับไม่หยุดพิมพ์เงิน ยังทำเหมือนอยู่ในภาวะฉุกเฉิน

เหมือนที่ อ. #SaifedeanAmmous พูดไว้ในหนังสือ #TheBitcoinStandard ว่าเวลารัฐอยากพิมพ์เงินแบบไม่ต้องรับผิดชอบ ก็แค่เอาสงครามมาอ้าง พอพูดว่า “เพื่อความมั่นคง” หรือ “เพื่อชาติ” เท่านั้นแหละ ทุกอย่างก็ดูเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมาทันที แล้วไม่มีใครกล้าถามว่าจริง แล้วเงินมันมาจากไหน

พอเงินเฟ้อมันแรง ของก็แพงขึ้น แต่รัฐไม่ยอมรับหรอกว่าที่ของแพงเพราะตัวเองพิมพ์เงินออกมาเยอะเกิน แต่กลับไปโทษพ่อค้า โทษคนทำธุรกิจ ว่าขายของแพง ค้ากำไรเกินควรซะงั้น

Hazlitt เขาเตือนว่า...รัฐกำลังทำให้คนเกลียดพ่อค้า เกลียดเจ้าของธุรกิจ เพื่อให้ดูเหมือนว่าตัวเองมีเหตุผลที่จะเข้ามาคุมเศรษฐกิจ ซึ่งที่น่ากลัวคือ...
มันไม่ได้เกิดจากความไม่รู้ แต่มันเกิดจาก “ระบบ”
ที่เปิดช่องให้เขาทำแบบนี้ได้เลย
แบบไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งนั้น

ตรงนี้แหละที่ Hazlitt เอาคำพูดของ
John Maynard Keynes เข้ามาเสริม
เพราะแม้แต่ Keynes ก็ยังเคยเตือนไว้ในหนังสือ
The Economic Consequences of the Peace
ว่า “เงินเฟ้อ” มันเหมือนเครื่องมือเงียบ
ที่จะค่อย ทำลายระบบเศรษฐกิจ
โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว

Hazlitt เขาเป็น "สายวิจารณ์" Keynes ตัวพ่อเลยนะ
เขาเขียนหนังสือ The Failure of the New Economics ที่ไล่รื้อแนวคิดของ Keynes
แบบ “ตา-ต่อ-ตา หน้า-ต่อ-หน้า” กับหนังสือ
The General Theory ของ Keynes เลยนะ

แต่พอมาในบทความนี้...Hazlitt
กลับหยิบคำพูดของ Keynes มาใช้อย่างเต็มใจ
เพราะมันตรงเกินไปที่จะมองข้ามได้
ว่าแม้แต่ #Keynes เองยังเคยเตือนเลยว่า
“การทำลายค่าเงิน” คืออาวุธเงียบ
ที่ใช้ทำลายระบบทุนนิยมได้อย่างแนบเนียนที่สุด
.
.
พออ่านแล้วแบบ…แม้แต่คนที่เราคิดว่าเชียร์ฝั่งรัฐ
ยังเตือนเรื่องนี้ไว้ แล้วเราจะยังเฉยอยู่ได้ไง

คือถ้าเงินมันถูกทำให้ด้อยค่าลงเรื่อย
วันนึงมันจะพังแบบเงียบ จนคนไม่รู้ตัวเลย
คนทั่วไปจะรู้แค่ว่าของมันแพงขึ้น แต่ไม่มีใครเห็น
ว่าจริง แล้ว เงินที่เราใช้มันเริ่มไม่มีเสถียรภาพ
และไม่มั่นคงอีกต่อไปแล้ว

แล้วถ้ามองตัวเลขนี่ยิ่งช็อก
ระหว่างปี 1939 ถึง 1947 ในเวลาแค่ 8 ปี
ปริมาณเงินในระบบของสหรัฐฯ เพิ่มจาก
33,000 ล้านดอลลารเป็น 108,500 ล้านดอลลาร์
พูดง่าย คือ คูณสาม (ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)

Hazlitt พูดแบบตรง เลยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น
มันไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจโตหรือคนรวยขึ้นนะ
มันเกิดจากการที่รัฐเพิ่มปริมาณเงินในระบบเร็วเกินไป
เมื่อเงินในตลาดเลยเยอะขึ้น แต่ของที่มีให้ซื้อไม่ได้เยอะขึ้นตาม เมื่อเงินไหลเวียนมากขึ้น โดยที่ของยังมีเท่าเดิม ราคาของก็เลยพุ่ง

ทีนี้พอของขึ้นราคา รัฐบาลกลับไม่ยอมรับว่าเป็นเพราะเขาพิมพ์เงิน แต่ไปเลือกวิธีแก้แบบง่าย
แต่สร้างปัญหาในระยะยาว เช่น สั่งห้ามขึ้นราคา
กดดันคนทำธุรกิจให้แบกต้นทุนไว้ หรือไม่ก็ล็อกค่าเงิน เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

หลังจากนั้น เศรษฐกิจยุโรปก็เริ่มพัง ผู้ผลิตเจอต้นทุนบาน การค้าระหว่างประเทศก็รวน สุดท้ายก็ต้องพึ่งดอลลาร์จากอเมริกา (Marshall Aid) มาช่วยอุ้ม เหมือนพิมพ์เงินของตัวเองจนระบบรวน แล้วไปขอเงินจากฝั่งที่พิมพ์ได้มากกว่าอีกที

นี่แหละจุดเริ่มของ “วิกฤตเศรษฐกิจโลกหลังสงคราม”
ที่จริง แล้ว...ก็แค่เรื่องของการพิมพ์เงินล้วน
.
.
แต่นั้นมันเป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 1947 นะ...แล้ววันนี้ล่ะ

ล่าสุด ปี 2020 ก่อนโควิด ระดับ M2 money supply ของสหรัฐอยู่ราว 15 ล้านล้านดอลลาร์ แค่ไม่กี่ปีต่อมา มันทะลุไปถึง 21 ล้านล้าน ในเวลาไม่ถึง 3 ปีเงินเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์

แล้วของก็แพงขึ้น ค่าแรงวิ่งตามไม่ทัน
แต่แทนที่รัฐจะบอกว่า “เราพิมพ์เงินมากไป”
ก็ไปเล่นมุกเดิม โทษตลาด โทษนายทุน โทษธุรกิจ
(บ้างก็โทษโลกร้อน)

สุดท้ายก็จะมีคนบางกลุ่มเชียร์ให้ “ควบคุมราคา” อีก
มันคือ loop เดิม ที่ #Hazlitt เคยเตือนไว้
เมื่อเกือบ 80 ปีก่อน..
.
.
สิ่งที่ซุปเห็นชัดเจนที่สุดจากบทความนี้คือ...
เกมนี้มันไม่มีใครหยุดได้เลย
ถ้าคุณยังถือเงินที่รัฐพิมพ์ได้

เพราะตราบใดที่ยังมีคนสั่งพิมพ์เงินได้ตามใจ
ระบบเศรษฐกิจก็จะปั่นป่วนซ้ำไปซ้ำมา
ของก็จะแพงขึ้นเรื่อย แบบไม่มีจุดจบ

คุณก็จะต้องเหนื่อยทำงานมากขึ้น
แต่ซื้อได้น้อยลง แล้วคุณก็จะโทษตัวเอง
ว่ายังขยันไม่มากพอ ทั้ง ที่คุณทำงาน 4-5 อย่าง

.

เลนิน พูดถูก ถ้าจะทำลายทุนนิยม ก็แค่ทำลายค่าเงิน
ฟังดูแรงเนอะ...แต่เรื่องนี้มันไม่ใช่แค่ทฤษฎีแล้ว
เพราะเรากำลังเห็น ว่ามันกำลังเกิดขึ้นอยู่จริง

แต่วันนี้ เราเลือกที่จะไม่อยู่ในเกมที่พังซ้ำๆ ได้แล้ว

เพราะเรามี “ทางออก” อยู่ตรงหน้า
บิตคอยน์ ไม่ใช่อะไรที่ทุกคนจะเข้าใจมันได้ทันที
แต่มันคือ “เงิน” ที่ไม่มีใครพิมพ์เพิ่มได้ตามใจ
ไม่มีใครมานั่งกดปุ่มสร้างมันขึ้นมาได้ง่าย
ไม่มีใครเปลี่ยนกติกากลางเกมได้
และไม่มีใครแทรกแซงนโยบายของมันได้

สิ่งเดียวที่ #บิตคอยน์ บอกเราตรง ก็คือ
“ความขาดแคลน” ไม่ใช่ปัญหา...

สิ่งที่ Hazlitt เตือนเมื่ออดีต
คือกับดักของเงินไม่มีขอบเขต

สิ่งที่ #Bitcoin เสนอ
คือขอบเขตที่ทำให้ “มูลค่า” กลับมามีความหมาย

[Newsweek column from September 22, 1947, and reprinted in Business Tides: The Newsweek Era of Henry Hazlitt.] https://mises.org/mises-wire/lenin-was-right

#Siamstr

0

0
0
0