Post by

HGGlobal

Own Nothing and Be Happy EP.1

Published on

31990:20986fb83e775d96d188ca5c9df10ce6d613e0eb7e5768a0f0b12b37cdac21b3:1700732875747

Oct 1, 2024

Own Nothing and be Happy Ep.1

image

ตระกูล Rothschild ยังมีอำนาจหรืออิทธิพลทางการเมืองอยู่หรือไม่???

คำถามง่ายๆแบบนี้นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบว่า หากตระกูลหนึ่งจะยังเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง พวกเขาจะมีวิธีการปกปิดตัวตนจากสาธารณชนได้อย่างไร เพราะจากการตรวจสอบทรัพย์สินของคนตระกูลดังกล่าว เราแทบไม่พบว่าคนกลุ่มนี้เป็นเจ้าของกิจการอะไรเลย และ Disclaimer ก่อนว่าตระกูลนี้อาจจะไม่ได้ใช้วิธีนี้ ดังนั้นผมไม่ได้ฟันธงว่าใครทำอะไร แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าหากจะทำก็ทำได้และมีวิธีการอย่างไร

ในงาน World Economic Forum มีคำพูดหนึ่งที่ว่า “Own nothing and you’ll be happy” แปลเป็นไทยคือ อย่าถือทรัพย์สินอะไรเลยแล้วคุณจะมีความสุข คำพูดนี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่คำปลอบประโลมสำหรับคนรากหญ้าเพื่อไม่ให้ลุกฮือขึ้นมาประท้วงระบบที่บิดเบี้ยวจนไม่มีปัญญาซื้อทรัพย์สินอะไรเป็นของตนเอง

แต่ถ้าเป็นอีกบริบทหนึ่งล่ะ??? หากคนพูดกำลังหมายถึงนัยยะที่ใครคนหนึ่งจะถือครองทรัพย์สินที่เขาเป็นเจ้าของจริงๆแต่ไม่แสดงความเป็นเจ้าของผ่านทางกฎหมาย คนเหล่านั้นสามารถทำเช่นนี้ได้หรือไม่ และผมเชื่อว่าคุณในฐานะปัจเจกบุคคลที่รักความเป็นส่วนตัว ย่อมไม่อยากเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธาณชนเช่นกัน แล้วอะไรจะเป็นเครื่องมือช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวนั้นได้ เดี๋ยวเราค่อยๆไปดูในเนื้อหาที่ผมจะกล่าวถัดไป

ก่อนจะ Deep Dive ลงไป ผมจำเป็นต้องพูดถึง Basic อย่างเรื่องข้อแตกต่างระหว่าง ‘บุคคล’ กับ ‘นิติบุคคล’ ในแง่การถือครองทรัพย์สินก่อน และคงต้องพูดเรื่องภาษีนิติบุคคล ภาษีมรดก และการจัดโครงสร้างบริษัทด้วย เพื่อให้คุณเห็นภาพว่านอกจากการซ่อนทรัพย์สินแล้ว มันมีอะไรที่เป็นประโยชน์ซ่อนอยู่อีก

ปกติวิสัยของคนทั่วไปมักจะถือครองทรัพย์สินในนามของบุคคลธรรมดา ซึ่งคุณจะต้องแสดงต่อหน่วยงานรัฐ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าคุณเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านที่คุณใช้อยู่อาศัย จะระบุชื่อหลังโฉนดชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของ เช่นเดียวกับรถยนต์แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการถือครองทรัพย์สินในนามบุคคลธรรมดาค่อนข้างมีความเสี่ยงจากการถูกละเมิดทรัพย์สินได้ซึ่งผมกำลังจะยกตัวอย่าง

หากคุณเปิดร้านอาหารในนามของบุคคลธรรมดา เพราะขี้เกียจจัดตั้งนิติบุคคล สิ่งที่คุณได้คือความสะดวก นั่นคือไม่จำเป็นต้องทำบัญชีหรือหลบเลี่ยงภาษีได้ แต่สิ่งที่ตามมาหลายคนคาดไม่ถึงเช่นหากร้านอาหารของคุณทำให้ลูกค้าเกิดอาหารเป็นพิษ แล้วร้านของคุณดำเนินงานในลักษณะของบุคคลธรรมดา หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อเรียกค่าเสียหาย แล้วค่าเสียหายมีมูลค่าสูงจนไม่สามารถชำระค่าเสียหายส่วนนั้นได้ สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือคุณจะโดนบังคับให้ทรัพย์สินที่ถือในชื่อของคุณถูกฟ้องร้องขายทอดตลาด

ตัวอย่างแบบนี้ในประเทศไทยคุณอาจจะไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่แต่ไม่ได้แปลว่ามันเกิดขึ้นไม่ได้ ในสหรัฐอเมริกามีเคสแบบนี้ให้เห็นบ่อย หลายคนใช้เวลาในการทำธุรกิจสะสม Proof of Work มาเป็น 10 ปี พอเจอคดีประเภทนี้อาจจะถึงคราวหมดตัวเลยก็ว่าได้ ดังนั้นคุณเห็นแล้วว่าการถือครองทรัพย์สินใดๆ หากมีชื่อบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องและเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย นั่นหมายถึงคุณอาจโดนฟ้องร้องจนหมดตัว

ดังนั้นกฎหมายจึงเปิดช่องให้คุณสามารถทำธุรกิจในนามของนิติบุคคลซึ่งในกรณีของประเทศไทยก็คือ “บริษัทจำกัด” ซึ่งคำว่า “จำกัด” ในที่นี้หมายถึงการจำกัดความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดจะมีความรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทเพียงเท่ากับจำนวนเงินที่ตนเองได้ลงทุนหรือถือหุ้นไว้เท่านั้น ถ้าบริษัทมีหนี้สิน ผู้ถือหุ้นจะไม่ต้องรับผิดเกินกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตนเองถือ ในที่นี้ผมจะกล่าวเฉพาะส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นส่วนแสดงความเป็นเจ้าของ

ทีนี้มาดูโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อ โดยปกติการดำเนินงานในนามนิติบุคคล เราจะมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นว่าในบริษัทใครมีหุ้นจำนวนเท่าไหร่ ใครถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ถ้าเป็น Family Business ในรายชื่อผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งบางทีก็ตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินธุรกิจจริง หรือบางทีก็ใช้เพื่อการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะ เช่นถือครองที่ดินในนามบริษัท แปลว่าหากบุคคลในครอบครัวเกิดมีข้อพิพาททางคดีขึ้นมา แทนที่จะโดนยึดที่ดินทั้งแปลง ก็อาจจะโดนยึดแค่หุ้นในบริษัทแทนหากมีการสืบทรัพย์แล้วพบว่ามีหุ้นอยู่จริง และมีข้อดีอีกประการคือหากบริษัทนั้นตั้งขึ้นมาเพื่อถือครองสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เวลาต้องการขายก็แค่ทำการโอนหุ้นให้เจ้าของใหม่ ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีโอนที่ดิน ซึ่งในกรณีนี้จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

สิ่งที่ผมกล่าวถึงในบทความนี้ ยังเป็นเพียงแค่ Level 1 คือการถือครองสินทรัพย์ในนามนิติบุคคล เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะปกป้องความเป็นส่วนตัวได้เต็มที่ เพราะชื่อของคุณยังปรากฏในบัญชีผู้ถือหุ้นอยู่ดี ยังมี Level ที่สูงมากขึ้นไปอีกซึ่งต้องใช้กลไกทางกฎหมายที่ซับซ้อนและสูงกว่านี้เพื่อที่จะปกปิดตัวตนของคุณ โปรดติดตามตอนต่อไป ซึ่งจะเจาะลึกถึงประเภทของหุ้นว่าสามารถปกปิดความเป็นเจ้าของได้หรือไม่ / การจัดโครงสร้างบริษัท และกลไกอื่นๆเพื่อปกปิดตัวตนแต่ยังมีความเป็นเจ้าของอยู่เต็มเปี่ยม แล้วพบกัน EP ถัดไปครับ

#Realeakkrit #Siamstr #Privacy #Bitcoin

0

0
0
0