Post by

Sam Yuta

จดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จาก Principles of Economics ตอนที่ 2

Published on

YakiHonne

Jan 5, 2024

บทที่ 3 Time บทที่ 4 Labor บทที่ 5 Property

มาต่อตอนที่ 2 กันครับ ใครยังไม่ได้อ่านตอนแรกแนะนำให้ไปอ่านได้ที่นี่ครับ
จดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จาก Principles of Economics ตอนที่ 1

Chapter 3 - Time

เวลาของแต่ละคนบนโลกนั้นมีจำกัด ไม่สามารถย้อนกลับได้ และไม่แน่นอนว่าจะมีเวลาอยู่บนโลกได้อีกนานเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เวลาเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ทรัพยากรอื่นๆ ที่ "ดูเหมือน" ว่าจะมีจำกัดนั้น มาจากข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ที่มนุษย์ไม่สามารถค้นหาและผลิตทรัพยากรเหล่านั้นได้ทั้งหมด

ปริมาณสำรองของทรัพยากรต่างๆ เพิ่มขึ้นเสมอเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากเรามีเทคนิคใหม่ๆ และเราลงแรงในการค้นหามากขึ้น ตามความต้องการที่มากขึ้น โดยมีราคาที่เป็นแรงจูงใจ ทำให้มีการค้นพบปริมาณสำรองมากขึ้น

image

และเพราะว่าพื้นที่ที่เราสำรวจและใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากพื้นโลก เป็นเปอร์เซนต์ที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดของเปลือกโลกทั้งหมด เวลาต่างหากคือทรัพยากรสำคัญที่มีจำกัดทำให้เราทยอยใช้ทรัพยากรจากผืนโลก เนื่องจากมนุษย์ยังต้องใช้เวลาและพลังงานในการทำสิ่งอื่นๆด้วย

การที่เวลามีจำกัด ทำให้เกิด Opportunity cost ค่าเสียโอกาส เวลาที่เราเลือกจะทำอะไรจะมีค่าเสียโอกาสที่เราเลือกไม่ทำอีกสิ่ง

Time Preference เพราะเวลาของมนุษย์มีจำกัด และไม่รู้จะอยู่อีกนานแค่ไหน มนุษย์เลยให้คุณค่ากับความพึงพอใจที่ได้รับในวันนี้มากกว่าในอนาคตเสมอ ค่า time preference จึงเป็นบวกเสมอ แต่บวกมากหรือน้อยตาม การลดค่าความสำคัญของอนาคต

Low Time Preference คือ ให้คุณค่า และความสำคัญของอนาคต ไม่ลดลงไปมากจากปัจจุบัน
High Time Preference คือ ลดความสำคัญของอนาคตมาก สนใจในความพึงพอใจในวันนี้ (คุณค่าของอนาคตลดลงไปมากจากปัจจุบัน)

Economizing Time ทุกๆ ช่วงเวลาในชีวิตเราต้องเลือกระหว่าง 1) ลงมือทำบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณค่าหรือไม่ก็ผลลัพธ์บางอย่าง 2) หรือใช้เวลาในการทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ (Labor vs Leisure) คำถามที่สำคัญคือเราจะ trade-off ยังไง เพราะการเลือกระหว่าง 2 อย่างเหมือนการ trade แลกเปลี่ยนกับตัวเองในอนาคต

Part II - Economy

Chapter 4 - Labor

เมื่อเวลามีจำกัด คนต้องเลือกที่จะใช้เวลาทำงานเพื่อให้ได้คุณค่าตอบแทนกลับมา หรือใช้เวลากับการพักผ่อน ค่าเสียโอกาสของการทำงานคือ เวลาพักผ่อนที่สูญเสียไป

แรงงานจะเลือกทำงานเมื่อคุณค่าที่ได้รับมากกว่าความพึงพอใจที่ได้จากการพักผ่อน ยกเว้นในกรณีของการเป็นทาสที่เลือกไม่ได้ เมื่อพักผ่อนมากขึ้นถึงระดับนึง ความสุขของการพักผ่อนที่เพิ่มขึ้นจะน้อยลง ความต้องการอื่นๆ จะเพิ่มขึ้น เป็นแรงจูงใจให้กลับมาทำงานอีกครั้ง

image

การผลิตคือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งของที่มี ตามการออกแบบที่มีเหตุผล เพื่อบรรลุเป้าหมาย
คนสามารถผลิตสิ่งของเพื่อตัวเอง หรือไปผลิตให้คนอื่น แล้วรับสิ่งตอบแทนแลกกับเวลา ซึ่งมักอยู่ในรูปเงินค่าจ้าง เงินเดือน

แรงงานถือว่าเป็น producer good สินค้าสำหรับการผลิต นับว่าเป็นทุนรูปแบบหนึ่ง นายจ้างจะจ้างแรงงานที่ค่าจ้างต่ำกว่ามูลค่าของผลงานที่ได้ เนื่องจากทุนมีจำกัด โดยจะมีจุดสมดุลที่ทำให้ได้ประโยชน์ที่พอใจทั้งสองฝ่าย

สินค้าทุนบางชนิดเมื่อเวลาผ่านไปอาจจะกลายเป็นล้าหลัง ไม่ productive แต่เวลาของมนุษย์สามารถเอามาใช้ใหม่ในรูปแบบอื่นที่มี productive กว่าได้เสมอ จึงมีความต้องการความคิดของมนุษย์ มือของมนุษย์ที่จะลงมือทำอยู่เสมอเพราะเวลาของมนุษย์มีจำกัด

ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาคนว่างงานมาก นักเศรษฐศาสตร์มักจะโทษตลาดและความโลภ แต่ไม่พูดถึงเงินเฟ้อจากการขยายเครดิต หรือกฎหมายบังคับค่าแรงขั้นต่ำ เพราะเมื่อเงินเฟ้อ ทำให้ข้าวของแพง คนต้องการเพิ่มค่าจ้างขณะที่ทำงานได้เท่าเดิม ส่งผลให้ต้นทุนการเงินของนายจ้างก็เพิ่มขึ้น การขยายเครดิตทำให้ธุรกิจขยายตัวอย่างไม่ยั่งยืน พอมันไม่สมดุลก็จะเกิดการล้มละลาย layoff รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำก็ทำให้ธุรกิจไม่สามารถปรับตัวตามตลาดได้

ในตลาดแรงงานเสรี จะไม่มีการว่างงานแบบไม่เต็มใจ คนจะสามารถเลือกได้เองว่าจะทำงานหรือไม่ทำตามค่าจ้างที่นายจ้างเสนอ

เมื่อคนทำงานจนมีความมั่งคั่งถึงระดับหนึ่ง คนจะเริ่มให้ค่ากับเวลาในการพักผ่อนมากขึ้น ทำให้อุปทานของแรงงานก็จะมีแนวโน้มลดลง จนแรงงานอาจจะเป็นสินค้าชนิดเดียวที่ที่อุปทานลดลงแม้ว่าค่าแรงอาจจะเพิ่มขึ้น

ความต้องการในแรงงานจะไม่หมดไป ต่อให้เรามีทรัพยากรไม่จำกัด เรายังต้องการคนช่วยในการตัดสินใจ นิยายของเคนเซียนที่คนจะไม่ต้องทำงานในอนาคตมันเป็นจริงไม่ได้

ส่วนทางมาร์กซิสที่มองว่าแรงงานคือการเอาเปรียบของนายทุน ทำไมแรงงานไม่ได้กำไรทั้งหมดของการผลิต แต่จริงๆแล้วเขามองข้ามความเสี่ยงในกิจการที่นายทุนต้องแบกรับ ต้นทุนที่นายทุนต้องเสียโอกาสในการเอาทุนไปทำอย่างอื่นไป การทำงานก็เป็นความสมัครใจของแรงงานเองที่ตกลงค่าแรงกันกับนายจ้าง และนายทุนจะมีบทบาทในการเพิ่ม productivity ของลูกจ้างผ่านการใช้ทุน เช่น เครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์

Chapter 5 - Property

Scarcity ความขาดแคลนเกิดขึ้นเมื่อมีความไม่สมดุลระหว่าง ทรัพยากรที่มีอยู่กับความต้องการของผู้คน เป็นเหตุผลทำให้ผู้คนต้องให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ความคิดเรื่อง Property หรือการครอบครองทรัพย์สิน ซึ่งหมายถึงการควบคุมและครอบครองสินค้า สิ่งของ หรือทรัพยากรเพื่อใช้ตอบสนองความต้องการ

ความสามารถในการครอบครองทรัพย์สินของผู้คน ทำให้เกิดการพัฒนา เช่นถ้าเราเป็นเจ้าของที่ดิน เราจะนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่าต่างๆ อาจจะสร้างบ้านอยู่อาศัยหรือประกอบกิจการ ถ้าไม่มีความเป็นเจ้าของก็จะไม่มีใครสนใจจะทำประโยชน์อะไรบนที่ดินนั้น

image

Property การครอบครองทรัพย์สิน จะนำมาซึ่งความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ อาจนำมาใช้ในการลดแรงงาน หรือเป็นต้นทุนช่วยให้คนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นม้า หรือรถที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งของ แทนที่จะแบกของเดินไป

Property ในสิ่งของ รูปธรรมแยกเป็น 4 ประเภท

  1. Consumer สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป
  2. Durable สิ่งใช้ได้หลายครั้ง เช่นบ้าน รถ ทีวี
  3. Capital ทรัพยากรที่ใช้สร้างหรือผลิตสิ่งอื่นๆ เช่นเครื่องจักร
  4. Monetary เอาไว้ใช้แลกกับข้ออื่นๆ แต่เอาไปบริโภคหรือผลิตอะไรโดยตรงไม่ได้

Ownership การเป็นเจ้าของในทรัพย์สินนั้นได้มาจาก

  1. ของนั้นไม่เคยมีเจ้าของ
  2. ผลิตขึ้นมาใหม่
  3. เปลี่ยนความครอบครองจากการแลกเปลี่ยนหรือมีคนให้มา

การเป็นเจ้าของคนหรือเวลาของคนก็แบ่งได้ 3 แบบ

  1. เป็นเจ้าของเวลาของตัวเอง ไม่มีใครมาเคลมในร่างกายและเวลาของเราได้
  2. เป็นของชุมชน ทุกคนในชุมชนร่วมกันเป็นเจ้าของกันและกัน รวมตัวกันตัดสินใจว่าใครจะทำอะไร ซึ่งมักจะมีปัญหาเมื่อจำนวนคนในชุมชนนั้นมากขึ้น การสื่อสารการตัดสินใจจะซับซ้อนเกินไป
  3. เป็นทาสของคนอื่น เจ้าของทาสเลือกได้ว่าทาสจะทำอะไรเวลาไหน ซึ่งสุดท้ายมักนำไปสู้ความขัดแย้ง

สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการทํางานของตลาด เศรษฐกิจ และสังคมอารยะ สิทธิในทรัพย์สินช่วยให้บุคคลสามารถลงทุนแรงงานและเวลาในการผลิตสินค้า ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตและการวางแผนในอนาคต ความเคารพต่อสิทธิซึ่งกันและกันเหล่านี้จะนําไปสู่การผลิตและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่มีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน เราจะไม่คิดถึงอนาคต ไม่ลงทุนเพื่อสิ่งที่ดีขึ้น

** รอติดตาม Chapter ต่อไปในตอนหน้าครับ

0

3
0
554