Post by

Libertarian Studies

ความแตกต่างของแนวทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของสำนักออสเตรียน กับ การเงินนิยมและสำนักเคนส์

Published on

yakihonne.com

Sep 29, 2023

จุดยืนทางเศรษฐศาสตร์มหภาพของสำนักคิดอย่างสำนักออสเตรียน (Austrian Economics) สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) และสำนักการเงินนิยม หรือ ชิคาโก้ (Monetary economics) ล้วนมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสำนักชิคาโก้ของมิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman) ยังคงหลงเหลือการใช้ภาษาในทางเศรษฐศาสตร์แบบสำนักเคนส์อยู่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับข้อสรุปของสำนักเคนส์ได้ทั้งหมด กล่าวคือหลายเรื่องเขายังมองแบบเดียวกันกับเคนส์ แต่แนวคิดของฟรีดแมนนั้นบริสุทธิ์ยิ่งกว่า ทั้งนี้มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของคำอธิบายความแตกต่างเล็กระหว่างสำนักเคนส์ สำนักชิคาโก้และสำนักออสเตรียนเท่านั้น แต่ความแตกต่างของทั้งสามสำนักใหญ่ ในเรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาคมีด้วยกันดังนี้

"เวลา" (time)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : เวลามีบทบาทสำคัญในหลายเรื่องทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่กระบวนการผลิต โครงสร้างการผลิต ทุนและอื่น

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : ผลกระทบของเวลาต่อกระบวนการการผลิต ทุนหรืออะไรก็ตามนั้นไม่ได้สำคัญอะไรมาก อาจถึงขั้นละเลย ‘เวลา’ เป็นองค์ประกอบของกระบวนการในเศรษฐกิจ

"ทุน" (capital)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : ทุนมีลักษณะ "ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน" ในการกำหนดสินค้าทุนที่มีโอกาสสึกหรออย่างต่อเนื่องและต้องเปลี่ยนใหม่ (มีอายุการใช้งานและบทบาทต่างกัน)

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : ทุนมีลักษณะ "เป็นเนื้อเดียวกัน" แบบที่จะสามารถผลิตตัวเองขึ้นมาได้ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนหรือการเอาทุนอย่างอื่นมาแทนที่

"การผลิต" (production)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : กระบวนการผลิตมีความเป็นพลวัตและแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอนในแนวตั้ง (vertical stage)

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : มีแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างการผลิตแบบหนึ่งมิติแบบแนวนอน (การไหลเวียนของรายได้แบบวงกลม)

"เงิน" (money)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : เงินมีผลต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์ของราคา

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : เงินมีผลต่อระดับราคาทั่วไป แต่ความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของราคานั้นไม่มองว่ามีผลกระทบอะไรมาก

"ปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค" (macroeconomic phenomena)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคถูกอธิบายในแง่ระดับจุลภาคได้ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของราคา

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : เศรษฐกิจมหภาคโดยรวมไม่มีการวิเคราะห์บนพื้นฐานของระดับจุลภาค

"วัฎจักรเศรษฐกิจ" (business cycle)

*สำนักออสเตรียนเชื่อว่า *: ทฤษฏีสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจมาจากภายนอก ซึ่งสามารถอธิบายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารเก็บเงินสดสำรองบางส่วน (เสกเงินออกจากอากาศ) และการขยายสินเชื่อจำนวนมากผ่านสถาบันทางการเงินที่กดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : มองว่าทฤษฏีวัฎจักรเศรษฐกิจที่เกิดจากภายนอกอย่างสถาบันทางการเงินนั้นเป็นความบกพร่อง แต่เชื่อว่าวิกฤตภายนอกนั้นเกิดขึ้นเพราะสาเหตุทางจิตวิทยา สาเหตุเชิงเทคนิค หรือ ความผิดพลาดในการบริหารนโยบายทางการเงินมากกว่า

"ทฤษฏีว่าด้วยทุน" (theory of capital)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : โครงสร้างของทุนมีผลต่อเศรษฐกิจ

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : ทฤษฏีว่าด้วยเรื่องทุนนั้นมีข้อบกพร่องในตัวเอง

"การเก็บออม" (saving)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : การเก็บออมมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจเพราะมันคือสาเหตุการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของโครงสร้างการผลิตและการยกระดับเรื่องเทคโนโลยี

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : การเก็บออมไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่มองว่าทุนมีการผลิตซ้ำจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง (ที่มีความเหมือนกัน) และฟังก์ชันการผลิตนั้นคงที่และถูกกำหนดจากสถานะของเทคโนโลยี

"อุปสงค์ต่อสินค้าทุน" (demand for capital goods)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : มีความผกผันความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการสินค้าทุนและความต้องการสินค้าบริโภค ทุก การลงทุนจำเป็นต้องมีการเก็บออมและช่วงที่การบริโภคตกลงช่วงคราว

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : ความต้องการสินค้าทุนเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการสินค้าบริโภค

"ต้นทุนการผลิต" (production costs)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : ต้นทุนบริโภคนั้นอยู่บนสมมติฐานเรื่องของจิตวิสัยและไม่ได้ถูกกำหนดมาก่อน

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : ต้นทุนการผลิตนั้นเป็นวัตถุวิสัย เป็นจริงและถูกกำหนดมาก่อน

"ราคาของตลาด" (market price)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : ราคาตลาดมีแนวโน้มกำหนดต้นทุนการผลิต ไม่ใช่ต้นทุนการผลิตกำหนดราคาตลาด

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : การบันทึกต้นทุนการผลิตในตลาดมีแนวโน้มกำหนดราคาตลาด

"อัตราดอกเบี้ย" (interest rate)

สำนักออสเตรียนเชื่อว่า : อัตราดอกเบี้ยเป็นราคาตลาดที่ถูกกำหนดโดยการเมินมูลค่าจิตวิสัยของความพอใจในการบริโภคต่างเวลา อัตราดอกเบี้ยถูกใช้แทนที่ของมูลค่าปัจจุบันที่เข้าหาราคาของแต่ละสินค้าทุน และคิดลดความคาดหวังที่จะได้รับในอนาคต อาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้

สำนักเคนส์และการเงินนิยมเชื่อว่า : อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มถูกกำหนดโดยผลิตภาพส่วนเพิ่ม หรือ ประสิทธิภาพของทุน ความเข้าใจอัตราคิดลดภายในซึ่งเป็นความคาดหวังที่จะไหลกลับเข้ามาต้องเท่ากับการบันทึกต้นทุนการผลิตของแต่ละสินค้าทุน ซึ่งพิจารณาเป็นตัวแปรที่มีการกำหนดต้นทุนและอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้า

image

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าสำนักเคนส์และการเงินนิยมของฟรีดแมนนั้นมีความเหมือนกันมาก (ในขณะเดียวกันก็มีความแตกต่างในรายละเอียด) ทั้งสองสำนักขาดเรื่องทฤษฏีทุนในองค์ประกอบของทฤษฏีของสำนักตนเอง และขาดการประยุกต์วิธีการมหภาพต่อระบบเศรษฐกิจที่เหมือนกัน เริ่มแรกสำนักการเงินนิยมมองเศรษฐกิจในระยะยาวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรง ผลกระทบโดยทันที และความมีประสิทธิภาพที่เชื่อมโยงเงินกับเหตุการณ์ความเป็นจริง ซึ่งตรงกันข้ามกับฐานคิดของสำนักเคนส์ที่มองเศรษฐกิจแค่ในระยะสั้นและมีความกังขาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของความเชื่อมโยงระหว่างเงินกับสถานการณ์ความเป็นจริงว่าความเชื่อมโยงนั้นจะรับประกันว่าจะไปสู่ดุลภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั้งยืนได้หรือไม่?

ทั้งสองสำนักได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับสำนักออสเตรียน ที่นำเสนอความซับซ้อนของทฤษฏีทุนที่วางอยู่บนจุดกึ่งกลางระหว่างความเชื่อของการเงินนิยมและสำนักเคนส์ สำหรับออสเตรียนเชื่อว่าการบ่อนทำลายทางการเงิน (การขยายเครดิต) ถือเป็นการบ่งบอกถึงแนวโน้มภายนอกของระบบที่จะเคลื่อนจากจุดสมดุลไปสู่เส้นทางที่ไม่ยั่งยืนของเศรษฐกิจหรือก็คือ การอธิบายว่าทำไมโครงสร้างอุปทานของทุนมีแนวโน้มที่จะเข้ากันไม่ได้กับหน่วยทางเศรษฐกิจที่มีอุปสงค์สำหรับสินค้าบริโภคและบริการ ออสเตรียนมองเรื่องขอการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญจริง อยู่ที่ระดับ "จุลภาค" ที่มีแรงขับจากผู้ประกอบการ แรงขับจากการแสวงหาผลกำไร และรูปแบบความสัมพันธ์ในราคา เป็นแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการย้อนกลับของความไม่สมดุลของกระบวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ออสเตรียนเห็นว่า มันมีความเชื่อมโยงที่แน่นอนระหว่างปรากฏการณ์ทางการเงินและปรากฏการณ์ในความเป็นจริง ไม่เหมือนกับการเงินที่นิยมที่เชื่อว่า "มันอาจไม่เชื่อมโยงกันเสมอไป" หรือ สำนักเคนส์ที่เชื่อว่า "มันไม่ได้เชื่อมโยงกันเลยตั้งแต่แรก"

กล่าวโดยสรุปก็คือ ออสเตรียนเชื่อว่าเงินนั้นไม่มีทางเป็นกลาง (ไม่ว่าจะในระยะสั้น ระยะกลาง หรือ ในระยะยาว) และมีสถาบันที่คอยจัดการเงินอยู่และสร้างกฎสากลในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมของความสัมพันธ์ของราคาเนื่องจากความเข้มงวดของปัจจัยทางการเงิน สิ่งแปลกปลอมที่ว่าก็คือ การเกิดขึ้นของการลงทุนในทรัพยากรใด ก็ตามที่ผิดพลาดซึ่งเกิดขึ้นเป็นวงกว้างและมันจะนำไปสู่วิกฤตซบเซาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำนักออสเตรียนจึงสรุป 3 หลักการใหญ่ ของนโยบายทางเศรษฐศาสตร์มหภาพที่มีส่วนสำคัญของการวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ในปัจจุบันก็คือ

(a).ปริมาณเงินจะต้องคงที่เท่าที่เป็นไปได้ (เช่น ตามมาตรฐานทองคำบริสุทธิ์) และต้องหลีกเลี่ยงการขยายสินเชื่อเป็นพิเศษ แนวทางเหล่านี้จำเป็นต้องกลับไปสู่หลักการทางกฎหมายแบบดั้งเดิมซึ่งควบคุมสัญญาการฝากเงินกับธนาคารและสร้างกำหนดข้อกำหนดการสำรอง 100 เปอร์เซ็นต์ในการธนาคาร;

(b).ต้องพยายามทุกวิถีทางให้มั่นใจว่าความสัมพันธ์ในราคาของสินค้าและบริการ ทรัพยากร ปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกันยังคงมีความยืดหยุ่น โดยทั่วไปการขยายสินเชื่อและมาตรการทางการเงินจะนำไปสู่แนวโน้มที่ความสัมพันธ์ในราคาเข้มงวดขึ้น ทำให้ผู้คนจำนวนมากตกหลุมพรางการรับรู้ต้นทุนที่ขาดความยืดหยุ่นอย่างแท้จริง และความเสียหายต่อหน่วยทางเศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้น การขยายสินเชื่อทำให้กระตุ้นการลงทุนทรัพยากรในทางที่ผิดโดยทั่วไป ส่งผลให้เกิดการว่างงานตามมา และยิ่งตลาดเข้มงวดมากเท่าไร การว่างงานก็จะยิ่งมากขึ้นตามเท่านั้น;

(c).เมื่อตัวแทนทางเศรษฐกิจเข้าทำสัญญาระยะยาวที่เจรจาในหน่วยการเงิน พวกเขาจะต้องคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อของเงินได้อย่างเพียงพอ จากทั้งกำลังซื้อของหน่วยการเงินลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อค่อย เพิ่มขึ้นอย่างคาดการณ์ได้ เช่น สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังการนำนโยบายการรักษาปริมาณมาใช้ ทำให้ปริมาณของเงินหมุนเวียนคงที่

#siamstr

บรรณานุกรม

Jesús, Huerta de Soto. Money, Bank Credit, and Economic Cycles. Ludwig von Mises Institute, 2006.

0

0
0
0