มาถึงตอนที่ 7 ก่อนสุดท้ายละครับ อีกนิดเดียว
ใครยังไม่ได้อ่านมาตั้งแต่เริ่ม อาจจะไปลองดู ตอนก่อนๆ ได้นะครับ
ใครยังไม่ได้อ่านมาตั้งแต่เริ่ม อาจจะไปลองดู ตอนก่อนๆ ได้นะครับ
Chapter 15 - Monetary Expansion
Circulation Credit เครดิตหมุนเวียน เป็นวิธีการที่ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดสรรเครดิต ที่ไม่ตรงกันในด้านปริมาณและช่วงเวลา ระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ โดยที่เงินทุนที่ใช้ในการกู้ยืมไม่ได้มาจากการออมของผู้ให้กู้โดยตรง มีอยู่ 3 วิธี
- Fractional Reserves Banking ธนาคารมีเงินสำรองไม่เต็มจำนวน ทำให้เงินที่พร้อมใช้สามารถไปเป็นเครดิตให้กับผู้กู้ได้ และผู้ฝากก็ยังสามารถถอนเงินออกไปได้
- จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมกับจำนวนเงินฝากมีค่าเท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องระยะเวลา ธนาคารจะทำการหมุนเวียนเครดิตในระหว่างที่รอหาผู้ให้กู้คนใหม่เข้ามาแทนที่
- การสร้างเครดิตหมุนเวียนอาจดำเนินการผ่านการใช้หลักประกันซ้ำจากการกู้ครั้งก่อน ซึ่งหมายความว่าในการกู้ครั้งที่สองไม่จำเป็นต้องมีเงินฝากเข้ามาใหม่
ทั้ง 3 วิธี เครดิตไม่ได้ถูกสร้างจากเงินออมที่เท่าเทียมกันของผู้ให้กู้ และมันให้เครดิตกลายเป็นสิทธิ์ในการใช้เงินที่สามารถใช้แทนเงินจริงได้ จากคุณลักษณะพิเศษของเงินที่ทำให้เงินเหล่านั้นถือเป็นเงินปัจจุบัน โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเหมือนเงินที่สร้างยากอย่างการทำเหมืองทอง เป็นวิธีการเพิ่มปริมาณเงินในระบบของเงินสร้างง่าย ที่ส่งผลให้มูลค่าของเงินลดลงจากปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นในระบบ

ทฤษฎีของทางนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนมองในความหมายที่แตกต่างกันระหว่าง เงินในความหมายเชิงแคบและสิ่งแทนเงิน
มุมมองเงินในความหมายเชิงแคบ แบ่งได้ 3 ประเภท
- Commodity money เงินที่เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนโดยทั่วไป มักมีการซื้อขายในตลาดที่มีผู้ผลิตและผู้บริโภคจำนวนมาก ตัวอย่างในประวัติศาสตร์เช่น โลหะมีค่า ทองคำ และล่าสุดคือ bitcoin
- Credit money สิทธิ์ในการเรียกร้องเงินในอนาคตจากหน่วยงานที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ผู้รับตั้งใจยอมรับมันเพื่อส่งต่อไปยังคนอื่นได้
- Fiat Money สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ไม่ได้มีค่าในตัวเอง แต่ถูกยอมรับในการใช้งานจากคำสั่งของหน่วยงานทางกฎหมาย ไม่ได้ขึ้นกับวัสดุ อาจจะเป็น ธนบัตร เงินฝาก เหรียญโทเคน สิ่งสำคัญคือตราสัญลักษณ์รับรองจากหน่วยงาน
มุมมองสิ่งแทนเงิน Money substitutes เครื่องมือทางการเงินที่สามารถใช้เป็นสื่อในการทำธุรกรรม สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้และเป็นสื่อในการทำธุรกรรม แบ่งได้ 2 ประเภท
- Money certificates เครื่องมือทางการเงินหรือกระดาษที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้เต็มจำนวนตามความต้องการ ได้รับค้ำ 100% จากหน่วยงานที่ออก เช่นธนบัตร บัญชีธนาคารที่สามารถแลกเป็นทองคำได้ (ในช่วงที่เป็นมาตรฐานทองคำ) หรือ bitcoin บน lightning network ใบรับรองเงินในลักษณะนี้จะไม่สร้างปัญหา ตราบใดที่เงินเบื้องหลังมันไม่ถูกใช้พร้อมกับ Money certificates หรือเมื่อแลกคืนแล้ว Money certificates จะถูกทำให้ต้องใช้งานไม่ได้
- Fiduciary media สื่อทางการเงินที่ไม่มีอะไร back หลัง หน่วยงานหรือสถาบันที่ออกไม่มีเงินเพื่อขึ้นเงินกลับแบบเต็มจำนวน จะเรียกได้ว่าเป็น "เอกสารแห่งความเชื่อใจ" แม้จะออกโดยธนาคารหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือก็ตาม สิ่งนี้จะเทียบเท่าเครดิตแบบไม่มีอะไร back และเป็นสาเหตุของ boom-burst cycle จากเกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน
ในอดีตกษัตริย์มักจะทำให้ตัวเองรวยขึ้น จากการลดปริมาณโลหะมีค่าในเหรียญ เพื่อทำให้ผลิตเหรียญได้มากขึ้นกว่าโลหะเดิมที่มี กษัตริย์ได้อำนาจในการซื้อเพิ่มขึ้น จากการเสียสละของประชาชนที่ถือสกุลเงิน ราคาของสินค้าจะเพิ่มจากปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ความมั่งคั่งของทุกคนจะถูกโอนไปยังกษัตริย์
รัฐสมัยใหม่ทำสิ่งที่คล้ายกันด้วยวิธีการทางกฎหมาย ความรุนแรง อำนาจผูกขาด โดยบังคับให้คนใช้เงินเฟียต ที่เปลี่ยนเป็นเงินที่แท้จริง (Commodity money) ไม่ได้อีกต่อไป ทำเหมือนกับว่าใบรับรองเงินเป็นเงินที่เชื่อถือได้ เพิ่มปริมาณเงินในระบบ ผลคือรัฐรวยขึ้นเพราะมีความสามารถในการควบคุมเงินในระบบ สังคมเสียหายจากอำนาจการซื้อของเงินออมลดลง เกิดความผิดพลาดทางเศรษฐกิจ
นักเศรษฐศาสตร์สายหลักที่ได้รับเงินสนันสนุนจากธนาคารกลาง เพื่อให้คำแนะนำในการกำหนดนโยบายต่างๆ มีแรงจูงใจที่จะไม่นำเสนอสิ่งที่ไม่เอื้อต่อธนาคารกลาง พวกเขาจะมุ่งความสนใจไปที่การหาวิธีออกจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ เช่นเมื่อเกิดปัญหาความต้องการโดยรวมลด ไม่สนใจจะหาสาเหตุ มัวแต่มองว่าจะสร้างงานเพิ่มขึ้นยังไง แก้ปัญหาด้วยเงินเฟียตและนโยบายจากธนาคารกลาง แล้วคิดว่าวัฏจักรทางเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องปกติ โดยไม่คิดถึงผลกระทบในระยะยาว
แทนที่จะหาสาเหตุและแก้ไขที่ต้นเหตุแบบออสเตรียน โดยไม่ต้องสนใจธนาคารกลางเพราะไม่ได้รับทุนจากเขา วิธีคิดของออสเตรียนมองวัฏจักรเศรษฐกิจว่าเป็นผลจากส่วนขยายของเรื่องเงิน หลักการพื้นฐานคือทรัพยากรทางเศรษฐกิจไม่สามารถสร้างขึ้นได้จากเงินที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ทุกการกู้ยืมคือการไม่ได้ใช้เงินของผู้ให้ยืม ทำให้ปริมาณเงินไม่ได้เพิ่มขึ้น
เปรียบได้เช่นเราตัดสินใจไม่กินข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดนั้นสามารถเอาไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ ไม่ได้สร้างข้าวโพดจากจินตนาการขึ้นมาอีกอัน ตราบเท่าที่เราใช้ Commodity credit ทรัพยากรต่างๆจะสะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงผ่านราคา

ต่างจากรัฐสมัยใหม่และธนาคารที่ใช้เครดิตหมุนเวียน ที่ไม่มีอะไรหนุนหลังให้เทียบเท่ากับเงิน ทำให้ปริมาณของเงินเพิ่มขึ้นในระบบเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการลดการบริโภคที่สัมพันธ์กัน ความต้องการสินค้าในตลาดจะเพิ่มขึ้น เกินกว่าปริมาณที่มีในตลาด ส่งผลทำให้ราคาสินค้าทุนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แผนการที่วางไว้จึงอาจไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ กำไรที่คาดหวังอาจหายไป สร้างความผิดเพี้ยนในตลาด นำไปสู่การล่มสลายพร้อมๆ กันของการลงทุน ทุนถูกใช้ไปอย่างเสียเปล่า เกิดการเพิ่มขึ้นของการว่างงาน เนื่องจากธุรกิจล้มเหลวหรือต้องปรับตัวใหม่ ความล้มเหลวของธุรกิจที่ขยายตัวเกินขอบเขตพร้อมกันทั่วทั้งเศรษฐกิจนี้เรียกว่า Recession ซึ่งเคนส์เซียนมองว่าเป็นวงจรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเขาไม่เข้าใจในโครงสร้างทุน เงินที่ไม่มั่นคง และการจัดการดอกเบี้ยทำลายแรงจูงใจในการสะสมทุน ทุกครั้งที่รัฐเริ่มต้นขยายปริมาณเงิน ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลลบได้
การสร้างและใช้เครดิตที่ไม่มีอะไรหนุน เสมือนการชิฟกราฟความต้องการเงินกู้ไปทางขวา ปริมาณเงินให้กู้เพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยต่ำลง แรงจูงใจในการออมลดลง มันจะไม่ยั่งยืน ต่างจากการลดลงโดยธรรมชาติของ low time preference
ทองคำมีจุดอ่อนที่ไม่สะดวกในการใช้จ่ายสำหรับการชำระหนี้หรือทำธุรกรรมระหว่างประเทศ จึงทำให้ผู้คนมากมายเลือกเก็บทองคำไว้ที่ธนาคารและใช้ธนบัตรแทน สถานการณ์นี้ทำให้ธนาคารเรียนรู้ว่าผู้คนจะไม่มีทางมาแลกทองคำออกไปทั้งหมดพร้อมกัน ซึ่งนำไปสู่การออกเครดิตที่ไม่มีอะไรหนุนหลังเพิ่มมากขึ้น
ในทางทฤษฎี ยิ่งเครดิตออกมากขึ้นควระจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น การถอนเงินจะเป็นภัยต่อธนาคารมากขึ้น ถ้าเป็นตลาดเสรีคนจะลดความเชื่อถือในธนาคาร คนจะแห่ถอนเงินจากธนาคาร ธนาคารจะล้มหรือไม่ก็เรียนรู้ที่จะลดเครดิตเหล่านี้ลงเอง
แต่ด้วยการแทรกแซงของรัฐและธนาคารกลางที่เข้ามาช่วยเหลือสถาบันการเงินจากวิกฤติการเงินที่เกิดจากการออกเครดิตที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ด้วยการลดค่าเงินซึ่งทำให้สกุลเงินเสื่อมค่า เกิดเป็นรากฐานของเศรษฐกิจถดถอย วนเป็นวงจรวิกฤติเศรษฐกิจ ที่อำนาจของธนาคารกลางและรัฐจะมากขึ้นเรื่อยๆ ทำลายความสามารถในการออม ทำลายรากฐานสังคมมนุษย์และอารยะธรรม
Part V - Civilization
Chapter 16 - Violence
การกระทำโดยสมัครใจไม่ใช่หนทางเดียวที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กัน เรายังสามารถใช้ความรุนแรง หรือขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงต่อกันได้ เป็นการแสดงอำนาจของคนนึงต่ออีกคนนึง ในการมีปฏิสัมพันธ์แบบสมัครใจถ้าผู้คนไม่ได้รับประโยชน์อย่างที่หวัง พวกเขาสามารถหยุดหรือปรับเปลี่ยนวิธีได้ แต่ผู้เป็นเหยื่อของความรุนแรงเลือกแบบนั้นไม่ได้ ตราบใดที่ผู้กระทำไม่ได้รับผลจากความก้าวร้าวของตน

มีความแตกต่างระหว่าง การใช้ความรุนแรง กับการเริ่มต้นใช้ความรุนแรง ตัวอย่างเช่น การใช้ความรุนแรงในการละเมิดการครอบครองทรัพย์สิน ไม่ใช่มาตรฐานของสังคม นำไปสู่ความขัดแย้ง เกิดความร่วมมือกันได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงอาจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้เมื่อเอามาใช้ในการต่อต้าน หรือลงโทษผู้เริ่มต้นใช้ความรุนแรง ถ้าทุกคนเห็นพ้องต้องกัน เช่นการป้องกันตนเองตามกฎหมาย
หลายๆ สังคมในอดีตเห็นด้วยกับหลักการที่ว่า ความรุนแรงมีเอาไว้ใช้กับผู้ที่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น
นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันมักเสนอว่ารัฐควรเป็นผู้ผูกขาดความรุนแรง เพื่อระเบียบและความสงบสุข และลงโทษผู้อื่นที่ใช้ความรุนแรง
ในทางกลับกัน นักเศรษฐศาสตร์แบบออสเตรียนมองว่าบทบาทของรัฐคือ การรักษาความปลอดภัยของประชาชนและทรัพย์สิน รวมถึงรับรองความปลอดภัยจากการรุกรานและลักขโมย ซึ่งมันจะส่งผลให้เกิด low time preference
เมื่อใดก็ตามที่รัฐทำหน้าที่เกินจุดนั้นเช่น เข้ามาเป็นเจ้าของทรัพยากรทุน กำหนดการจัดสรรทุน แทรกแซงเศรษฐกิจ ตัดสินใจบังคับทรัพยากรของผู้อื่น โดยไม่มี skin in the game ไม่เข้าใจการตัดสินใจส่วนบุคคลในตลาดเสรี จะทำให้การจัดสรรทรัพยากรผิดพลาด
การกำหนดราคาสินค้าเป็นวิธียอดนิยมของรัฐ เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มแต่เป็นภาระกับกลุ่มอื่น มันฟังดูง่ายแต่มันไม่เคยได้ผล มีแต่นำไปสู้ความขาดแคลนและตลาดมืด เพราะผู้ผลิตไม่มีแรงจูงใจหรือไม่มีรายได้ที่สูงขึ้นมาซื้อทรัพยากรที่จำเป็นมาผลิตได้ รัฐอาจจะห้ามราคาสูงได้ แต่รัฐบังคับไม่ให้เขาหยุดผลิตไม่ได้ นำไปสู่การลดลงของปริมาณสินค้าในตลาด
อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือตลาดมืด สินค้าจะถูกขายที่ราคาสูงขึ้นแบบผิดกฎหมาย แม้คนสามารถซื้อของที่ต้องการได้ แต่มีภาระในการทำธุรกรรมเพิ่มทั้งผู้ซื้อผู้ขาย เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี หรือเกิดพ่อค้าคนกลางที่ได้กำไรจากสถานการณ์ แทนที่กำไรส่วนนั้นจะได้นำไปลงทุนเพิ่มการผลิต กลับตกในมือของพ่อค้าคนกลาง
ปัญหาของราคาที่เพิ่มขึ้นมักมีต้นเหตุมาจากเงินเฟ้อ เงินที่ผลิตง่าย การลดค่าเงิน แต่ต้นเหตุเหล่านี้กลับถูกละเลย การกำหนดราคาขั้นต่ำเช่นค่าจ้าง ก็ให้ผลไม่ได้ดีไปกว่ากัน ดูได้ในบทก่อนหน้านี้
นักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันมักมองว่าการใช้จ่ายที่ดีของรัฐ (จากภาษีที่บังคับเก็บมาจากประชาชน) จะช่วยบรรเทาปัญหา บรรลุเป้าหมายสังคมที่ดีกว่า แต่พวกเขาจะไม่ได้คิดถึงต้นทุนอย่างเหมาะสม ไม่เข้าใจความต้องการของแต่ละบุคคล
ในทางตรงกันข้ามถ้าแต่ละบุคคลตัดสินใจกันเอง เขาจะเลือกใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองอย่างดีที่สุด แต่การใช้จ่ายของรัฐจะไม่ใช่แบบนั้น หรือประเด็นหนึ่งคือรัฐสามารถเลือกที่จะให้เงินอุดหนุนกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ส่งผลต่อการบิดเบือนตลาด เช่นเงินอุดหนุนผู้ว่างงาน มันจะสร้างแรงจูงใจให้คนว่างงาน ซึ่งเงินอุดหนุนมักจะมาจากภาษีของผู้มีงานทำ ทำให้กัดกร่อนแรงจูงใจในการทำงาน
การจัดหาสินค้าและบริการโดยรัฐมักเป็นทางออกอีกแบบนึงที่หลายคนมักเสนอ เพื่อป้องกันการถูกขูดรีดจากภาคเอกชนที่มุ่งแสวงหาผลกำไร เช่นการศึกษา น้ำสะอาด สาธารณะสุข แต่การทำกำไรของเอกชนไม่ใช่เป็นเพียงกลไกที่อยากรวยอย่างเดียว แต่กำไรคือการสะท้อนถึงการประสานงานของตลาดการผลิตทั้งหมด
เอกชนใช้กำไรเป็นตัวขับเคลื่อนในการคำนวนต้นทุน การเลือกตัวเลือกต่างๆ เพื่อนำเสนอวิธีให้ลูกค้าพอใจได้มากที่สุด และสร้างผลกำไรที่เหมาะสมให้ตัวเอง การดำเนินการโดยรัฐจะไม่มีแรงจูงใจในการทำอย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าจะไม่เป็นที่ต้องการ สิ้นเปลืองทรัพยากร ค่าใช้จ่ายสูง หรือรอคิวนานที่จะได้รับบริการ
รัฐจัดหาเงินผ่านการเก็บภาษีโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านเงินเฟ้อ (กู้หรือผลิตเงินเพิ่ม) ซึ่งทั้งสองวิธีลดแรงจูงใจของประชาชนในการออมเงิน หรือนำเงินไปลงทุน ทำให้คนมีความไม่แน่นอนในอนาคต ขัดขวาง low time preference

ทุกการแทรกแซงของรัฐ จะบิดเบือนการตัดสินใจอย่างอิสระของผู้คน คนจะตัดสินใจผิดเพี้ยนไปจากความต้องการของตัวเอง
ข้ออ้างในการแทรกแซงของรัฐ มักจะบอกว่าตลาดจะล้มเหลว ถ้าประชาชนตัดสินใจกันเอง จะได้ผลลัพธ์ด้อยกว่าผู้วางแผนจากส่วนกลาง ผู้รอบรู้ทุกสิ่ง เหนือกว่าเจตนารมณ์ของแต่ละบุคคลในตลาดเสรี ที่รู้ข้อมูลเพียงน้อยนิด ไม่มีความคิดแบบมีเหตุมีผล
ข้ออ้างในการแทรกแซงของรัฐ มักจะบอกว่าตลาดจะล้มเหลว ถ้าประชาชนตัดสินใจกันเอง จะได้ผลลัพธ์ด้อยกว่าผู้วางแผนจากส่วนกลาง ผู้รอบรู้ทุกสิ่ง เหนือกว่าเจตนารมณ์ของแต่ละบุคคลในตลาดเสรี ที่รู้ข้อมูลเพียงน้อยนิด ไม่มีความคิดแบบมีเหตุมีผล
นักวางแผนนักเศรษฐศาสตร์ที่รับเงินจากรัฐมักนำเสนอสมการคณิตศาสตร์การวิเคราะห์ ที่มีวาระซ่อนเร้นจากรัฐ สร้างสมมติฐานเลียนแบบกฎฟิสิกส์ที่เป็นไปไม่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง เชิดชูการแทรกแซง สนับสนุนอำนาจของรัฐ
ตลาดโดยทั่วไปไม่ได้เกิดการผูกขาดกันได้ง่ายๆ ยกเว้นการมีการบังคับใช้ความรุนแรงหรือนโยบายบางอย่างของรัฐ คนขายแพงหยุดคนขายตัดราคาไม่ได้ยกเว้นใช้กำลัง หรือกฎระเบียบบางอย่างโดยรัฐ เช่นบางทีผู้ผลิตทำสินค้าได้ดีกว่าในราคาที่ต่ำกว่าขยายส่วนแบ่ง แต่รัฐปกป้องผู้ผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพให้ยังคงทำกำไรโดยไม่ต้องอัพเกรด productivity ตัวเอง
อีกเหตุผลที่รัฐอ้างเพื่อแทรกแซงตลาดคือ Externalities และ Public goods
Externalities คือผลกระทบทางเศรษฐกิจบุคคลหนึ่งที่เกิดจากการบริโภคหรือการผลิตของบุคคลอื่น อาจจะเป็นลบเช่นมีมลพิษจากโรงงานที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งถือเป็นการละเมิดทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน หรือเป็นบวกเช่นมีกิจกรรมแข่งกีฬาที่ส่งผลดีกับโรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งรัฐจะบอกว่าการบังคับของรัฐนั้นยังไม่พอในภาวะการละเมิดนั้น
Externalities คือผลกระทบทางเศรษฐกิจบุคคลหนึ่งที่เกิดจากการบริโภคหรือการผลิตของบุคคลอื่น อาจจะเป็นลบเช่นมีมลพิษจากโรงงานที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งถือเป็นการละเมิดทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน หรือเป็นบวกเช่นมีกิจกรรมแข่งกีฬาที่ส่งผลดีกับโรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งรัฐจะบอกว่าการบังคับของรัฐนั้นยังไม่พอในภาวะการละเมิดนั้น
Public goods สินค้าที่ยกเว้นไม่ได้ หมายถึงเลือกที่จะไม่ใช้บริการไม่ได้ และป้องกันไม่ให้คนที่จ่ายเงินได้ประโยชน์เฉพาะคนจ่าย ไม่มีการแข่งขัน ซึ่งจะส่งเสริมให้ทุกคนไม่จ่ายสำหรับสินค้า จะทำให้ผลิตบริการเหล่านี้ไม่พอ รัฐเลยจะบังคับทุกคนจ่าย และตัดสินใจแทนทุกคนเช่น ทหาร ตำรวจ ดับเพลิง สวน ถนน ทุกคนได้รับประโยชน์โดยไม่มีส่วนร่วมในการจัดหา นักเศรษฐศาสตร์สายหลักจึงมองว่า ถ้าไม่มีการบังคับจากรัฐให้คนจ่ายเงินเพื่อสิ่งเหล่านี้มันจะมีไม่พอ
แต่ในประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นแบบนั้น บริการหลายๆ อย่างมีคนเต็มใจบริจาค สมาคมอาสาสมัครเข้ามามีบทบาท โดยไม่ต้องใช้กำลังบังคับ หรือกลุ่มคนเห็นพ้องทางประโยชน์ร่วมกันจริงลงมือช่วยกันสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก แล้วอาจจะเก็บค่าบริการ พวกเขาจะไม่เลือกที่จะยอมให้ตัวเองไม่สะดวกแค่เพราะกลัวว่าคนอื่นจะได้ประโยชน์
ในทางกลับกัน รัฐเกือบทั่วโลกสามารถเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนน ซึ่งมักแออัดและเสื่อมสภาพ ต้นทุนเขาจะผิดเพี้ยนไปจากตลาดจริง ทำให้เกิดถนนที่มากเกินความต้องการ ทำให้เกิดการลดพื้นที่ใช้สอยของเมือง บังคับให้คนขับรถมากขึ้นเพราะเมืองต้องขยายตัว ถนนที่สร้างโดยเอกชนอาจมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการใช้ แต่ถนนจะประสิทธิภาพดี และไม่แออัดเพราะผู้คนจะใช้เมื่อจำเป็น

ไม่มีการแข่งขันไม่ได้แปลว่าเราจะลดประโยชน์ให้คนที่ไม่ได้จ่ายเงินเสมอไป เช่นไฟถนน ประภาคาร การวางแผนแบบส่วนกลางบังคับให้คนอื่นจ่ายเงินสำหรับสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ใช้ ต้นทุนต่างๆถูกบิดเบือน และผู้วางแผนก็ไม่ได้รับผลโดยตรงจากการตัดสินใจของตน
การคิดตัวเลขทางเศรษฐกิจแบบมี skin in the game เท่านั้นที่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเหตุมีผล และตลาดเสรีมีขบวนการวิวัฒนาการและคัดเลือกผู้อยู่รอดไม่ต่างกับระบบนิเวศ
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือเส้นทางการบิน ที่ไม่มีผู้วางแผนส่วนกลาง แต่ละสายการบินจะทดลองเส้นทางต่างๆ สุดท้ายแล้วผู้บริโภคเป็นคนตัดสินว่าเส้นทางไหนจะทำกำไรได้ สายการบินได้ข้อมูลมาปรับปรุงเส้นทาง วนเป็นวงจรปกติของตลาดเสรี ผลลัพธ์ดูเหมือนเกิดจากผู้ออกแบบ แต่จริงๆแล้วมันเกิดจากการกระทำของคนแต่ละคนในตลาด
ในสังคมที่ประชาชนเคารพทรัพย์สินของกันและกัน ปฏิเสธการเริ่มต้นความรุนแรง สามารถค้าขายกันได้อิสระ มีเงินที่ดีเกิดขึ้น แบ่งงานกันทำ เป็นทุนนิยมตลาดเสรีที่แท้จริง ไม่มีผู้ออกแบบที่ควบคุมสิ่งต่างๆ หรือวางแผนจากบนลงล่าง มันจะนำไปสู่สังคม civilization สมัยใหม่
อาชีพของนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อยู่ได้ด้วยการโจมตีเศรษฐกิจตลาดเสรี ว่าตลาดล้มเหลวและอธิบายเหตุผลสำหรับการแทรกแซงของรัฐ สร้างงานวิจัยที่ไม่มีเหตุผลเพื่อเป็นเหตุผลให้รัฐบังคับใช้ความรุนแรง นักเศรษฐศาสตร์กลายเป็นอาชีพที่ถูกครอบงำโดยรัฐ
** ตอนหน้าตอนสุดท้ายแล้วครับ